เทศบาลตำบลเวียงเทิง

ข้อมูลหน่วยงาน

เทศบาลตำบลเวียงเทิง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลขนาดกลาง)  ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 15 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย   จำนวนประชากร 5,084 คน  (ข้อมูล ณ กันยายน 2560) ขนาดพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร  มีเขตการปกครองประกอบด้วยพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ของ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย  หมู่ที่ 1 บ้านเวียงเทิง   หมู่ที่ 2 บ้านตั้งข้าว  หมู่ที่ 14 บ้านพระเกิด   หมู่ที่ 15 บ้านเวียงใต้  และ  หมู่ที่ 20 บ้านเวียงจอมจ้อ  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และ ค้าขาย 

          เทศบาลตำบลเวียงเทิง ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตามพิกัด พี.บี.257778 มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1020 สายเชียงราย - เทิง ประมาณ 64 กิโลเมตร มีระยะทางห่างจากเมืองหลวง (กรุงเทพมหานคร) เป็นระยะทางประมาณ 891 กิโลเมตร 

 อาณาเขต

                     ทิศเหนือ           ติดต่อกับบ้านร่องริว  หมู่ที่ 12 จากหลักเขตที่ 1 ถึงหลักเขตที่ 2

                     ทิศใต้               ติดต่อกับแม่น้ำลาว จากหลักเขตที่ 7 ถึงหลักเขตที่ 8

                     ทิศตะวันออก     ติดต่อกับบ้่านใหม่ หมู่ 10 จากหลักเขตที่ 3 ถึงหลักเขตที่ 4 หลักเขตที่ 5 และ 6

                     ทิศตะวันตก       ติดต่อกับดอยม่อนอิงและพื้นที่ไร่นาของเขตเทศบาลตำบลงิ้ว จากหลักเขตที่ 9 ถึง หลักเขตที่ 10

สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

            เป็นลักษณะที่ราบลุ่มแม่่น้ำอิงและแม่น้ำลาว พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน เป็นแหล่งชุมชน พื้นที่รอบนอกจะเป็นสวนไร่นาของชาวบ้าน และพื้นที่ว่าง ประกอบด้วยที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ เดิมพื้นที่เขตเทศบาลจะใช้ประกอบการเกษตรกรรมสลับที่อยู่อาศัย ปัจจุบันลดจำนวนลงเป้นพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม

        ลักษณะชุมชนของประชาชนจะเกาะตัวกันบริเวณทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1020 สายเชียงราย - เทิง -เชียงของ และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1020 สายเทิง - เชียงคำ - พะเยา โดยมีการปลุกสร้างบ้านเรือนเป็นที่พักอาศัยกระจายอยู่ตามตรอก ซอยต่าง ๆ ในเขตเทศบาล เกาะกลุ่มประกอบกันเป็นสังคมเมืองกึ่งชนบท มีการช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนน้อยลงจากอดีต เนื่องมาจากการแบ่งครอบครัวจากสังคมดั้งเดิมที่เป็นครอบครัวใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย การเกษตรกรรมและรับจ้าง 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

               การคมนาคมขนส่งทางบก มีทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1020 (สายเชียงราย-เทิง) และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1021 (สายเทิง-เชียงของ) เป็นเส้นทางหลักในการติดต่อระหว่างอำเภอเทิง-อำเภอเชียงของ-อำเภอเชียงคำ-จังหวัดพะเยา ส่วนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่มีสภาพเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และบางส่วนเป็นถนนแอสฟัลติกส์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล

              การจราจร ได้ขอความร่วมมือและสนับสนุนกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง เกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจร โดยสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำป้ายสัญญาณจาจร อุปกรณ์การจราจรต่าง ๆ บนท้องถนน ตลอดจนการรณรงค์การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย 

           การไฟฟ้า ระบบการจำหน่ายและการบริการไฟฟ้า มีสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเทิง เป็นผู้รับผิดชอบครอบคลุมทั้งอำเภอเทิง สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้ทั่วเขตเทศบาล ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 1,987 ราย

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                ทรัพยากรน้ำ          แม่น้ำอิง   แม่น้ำลาว

                ทรัพยากรธรรณี      มีทรัพยากรธรณีที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ อาทิ หิน ดิน ทราย ซึ่งขุดลอกมาจากแม่น้ำอิง - ลาว

                การประปา            ระบบการจำหน่ายและการบริการประปา มีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอเทิง เป็นผู้รับผิดชอบ

                การใช้ที่ดิน            มีลักษณะการใช้ที่ดินมีรายละเอียดดังนี้

               1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย เกาะกลุ่มหนาแน่นตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1020 และทางหลวงจังหวัดสาย 1021 ทั้งสองข้างถนน ด้านหน้าจะเป็นอาคารพาณิชย์ จากนั้นจะกระจายอยู่ตามซอยต่างๆ 

              2. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มีศูนยืกลางพาณิชยกรรมกระจุกอยู่ประมาณตอนกลางของชุมชน ซึ่งสลับด้วยร้านค้า สถานที่ราชการ ธนาคาร ตลาด บริเวณแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1020 และแนวทางหลวงหลวงจังหวัดหมายเลข 1021 เริ่มจากหน้าที่ว่าการอำเภอเป็นต้นไป

              3. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม กระจายกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตเทศบาล เช่น ร้านซ่อมรถจักรยานยนตื ซ่อมเครื่องยนต์ โรงพิมพ์ โรงกลึง                                            4. ที่ดินประเภทชนบทและการเกษตรกรรม เป็นพื้นที่ปลุกไม้ยืนต้น ซึ่งเหลืออยู่เพียงส่วนน้อย

               5. ที่ดินประเภทสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด โรงพยาบาล จะมีการกระจายอยู่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล

ปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดินในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ จะมีแนวโน้มพัฒนาเป้นสังคมชุมชนเมือง ซึ่งเทศบาลจะได้ดำเนินการวางแผนพัฒนาด้านการผังเมืองเพื่อเป็นพื้นฐานและการรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองในอนาคต

การสื่อสารและโทรคมนาคม

               การไปรษณีย์โทรเลข   มีสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขอำเภอเทิง จำนวน 1 แห่ง 

               โทรศัพท์   มีบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 1 แห่ง

               โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน  40 แห่ง

               สถานีวิทยุ - โทรทัศน์  เขตเทศบาลสามารถรับสัญญาณการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่องสถานี 

               มีเสียงตามสายของหมู่บ้าน/ชุมชน  จำนวน 7 แห่ง

               ข่ายวิทยุสื่อสาร ใช้เครือข่ายหลักของอำเภอเทิง (ข่ายราชสีห์) เครือข่ายรองของเทศบาลคือ เครือข่ายคงคา

               เครื่องวิทยุสื่อสารเครื่องเล้ก (ส่วนตัว) จำนวน 25 เครื่อง

               บริการสื่อสารของเอกชน มีร้านบริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต จำนวน 3 แห่ง

การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

การศึกษา 

            ในพื้นที่มี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง (ศพด.เทศบาลตำบลเวียงเทิง)  โรงเรียนระดับอนุบาลจำนวน 1 แห่ง (โรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงเทิง) ระดับประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง    (โรงเรียนบ้านเวียงเทิง , โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม) ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง (โรงเรียนเทิงวิทยาคม) และระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 แห่ง (วิทยาลัยการอาชีพเทิง) 

ศาสนา

                ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม 

                ศาสนสถาน จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย วัดอำมาตย์ วัดพระนาคแก้ว วัดพระเกิดคงคาราม วัดพระธาตุจอมจ้อ วัดพระธาตุจอมใจ วัดพระธาตุศรีมหาโพธิ์

ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

            1. ประเพณีปีใหม่เมือง (สงกรานต์)

            2. ประเพณีแห่เทียนพรรษา

            3. ประเพณีแข่เรือพาย

            4. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ

            5. ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทง)

            6. ประเพณีทอดกฐิน/ผ้าป่าสามัคคี

            7. ประเพณีตักบาตรขึ้นปีใหม่

            8. ประเพณีตักบาตรเทโว

            9. ประเพณีตา่นก๋วยสลาก

            10. ประเพณีสืบชะตาแม่น้ำอิง

            11.ประเพณีบวงสรวงเจ้าหลวงเทิง

            12.บายสีสู่ขวัญ

            13.สะเดาะเคราะห์/สืบชะตา

การสาธารณสุข

         มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการในพื้นที่ โรงพยาบาลเทิง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทิง สถานพยาบาลเอกชน (คลินิค) จำนวน 2 แห่ง และร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 4 แห่ง ส่วนในสำนักงานเทศบาล มีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบภารกิจด้านการสาธารณสุข

การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ

       การให้การสงเคราะห์ประชาชน ได้รับการสงเคราะห์จากสำนักงานเทศบาล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชาสงเคราาะห์อำเภอ กิ่งกาชาด และส่วนราชการอื่น ๆ 

          มีสวนสุขภาพ และลานกีฬา ไว้สำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จำนวน 2 แห่ง ข่วงเวียงเทิง และลานสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

          มีการจัดตั้งกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลเวียงเทิง (ออมวันละบาท) เพื่อจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มตั้งแต่เกิดจนตาย (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)  

การมีส่วนร่วมของประชาชน

            ประชาชนทุกหมู่บ้าน ร่วมเป็นตัวแทนในการบริหารจัดการในภารกิจของเทศบาลตำบลเวียงเทิงทุกระดับการจัดการ ประชาชนทุกภาคส่วนให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมและความร่วมมือด้านต้่าง ๆ ของชุมชนและเทศบาลจนประสบผลสำเร็จในทุกๆด้าน

ที่ตั้ง

เลขที่ 3 หมู่ที่ 15 ถนนพิศาล ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160

การติดต่อ

8.30 - 16.30 น.
053669041
053795321
http://www.wiangthoeng.go.th
-

บัญชีโซเชียลมีเดีย

พิกัดสถานที่